Search

สดร. ชวนชม 'ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี' 14 ก.ค.นี้ - กรุงเทพธุรกิจ

sambutanbola.blogspot.com

12 กรกฎาคม 2563

126

สดร. เผย 14 ก.ค.นี้ "ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี" โอกาสดีเห็นได้ตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้า สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกพื้นที่ทั่วประเทศ

เฟซบุ๊กเพจ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. ระบุว่า ในวันที่ 14.. 63 นี้ ชวนชม ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี ปรากฏสว่างเด่นชัด ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ นานตลอดคืนถึงรุ่งเช้า หากท้องฟ้าใสไร้เมฆฝนสังเกต จะสามารถได้ด้วยตาเปล่าทั่วไทย 

ดาวพฤหัสบดีจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Jupiter Opposition) โดยมีโลกคั่นกลางเรียงกันในแนวเส้นตรง ส่งผลให้ตำแหน่งของดาวพฤหัสบดีใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ห่างจากโลกประมาณ 619 ล้านกิโลเมตร”

159455346143

“เมื่อดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจะมองเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏบริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สุกสว่างมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน มีค่าอันดับความสว่างปรากฏประมาณ -2.8 (ค่าอันดับความสว่างปรากฏของวัตถุท้องฟ้าที่มนุษย์สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า มีค่าประมาณ 6 ส่วนค่าอันดับความสว่างปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงประมาณ -12.6) ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะเเก่การสังเกตการณ์อย่างยิ่ง” สดร. กล่าว

ทำความรู้จัก "ดาวพฤหัสบดี"

ถือเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ โดยมีมวลถึง 2.5 เท่าของมวลดาวเคราะห์ที่เหลือรวมกัน แต่เป็นมวลเพียง 1/1,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ขณะที่ชนาดของดาวพฤหัสบดีใหญ่จนสามารถจุดาวเคราะห์ที่เหลือทุกดวงรวมกันใส่ลงไปได้

ดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ เช่นเดียวกับดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน หมายความว่าดาวพฤหัสบดีไม่มีพื้นผิวส่วนไหนเลยที่เป็นของแข็ง แต่จะมีลักษระเป็นลูกบอลแก๊สขนาดใหญ่ ประกอบด้วยไฮโดรเจน 75% และฮีเลียม 24% แถบเมฆสีอ่อนของดาวพฤหัสบดี เรียกว่า “โซน” (Zones) ประกอบด้วยแก๊สผลึกน้ำแข็งของแอมโมเนีย ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่แน่ใจถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดแถบเมฆสีคล้ำของดาวพฤหัสบดี เรียกว่า “เข็มขัด” (Belt) แต่พบว่าองค์ประกอบทางเคมีในแถบเข็มขัดเป็นพวกซัลเฟอร์ (กำมะถัน), ฟอสฟอรัส และคาร์บอน

ดาวพฤหัสบดียังเป็นดาวเคราะห์ที่หมุนรอบตัวเองเร็วที่สุดในระบบสุริยะ โดย 1 วันของดาวพฤหัสบดีมีระยะเวลาสั้นกว่า 10 ชั่วโมง หากคุณสังเกตภาพเคลื่อนไหว จะเห็นจุดแดงใหญ่กำลังเคลื่อนที่ไปรอบๆ จุดแดงใหญ่เป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ คล้ายๆกับพายุเฮอร์ริเคน โดยมีการพบจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดีครั้งแรกมานานกว่า 300 ปีแล้ว ในขณะนั้น จุดแดงใหญ่มีขนาดยาวที่สุด ซึ่งมีความยาวถึง 3 เท่าครึ่งของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางโลก

ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์ที่ถูกค้นพบแล้วอย่างน้อย 69 ดวง โดยกลุ่มดวงจันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัสบดี (ไอโอ ยูโรปา แกนีมิด และคัลลิสโต) ถูกค้นพบในปี ค.ศ.1610 โดยกาลิเลโอ นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี ยานอวกาศลำแรกที่ไปถึงดาวพฤหัสบดี คือ ยานไพโอเนียร์ 10 ที่ไปถึงในปี ค.ศ.1973 จากนั้นเป็นต้นมา มียานที่ไปถึงดาวพฤหัสบดีรวมกันแล้ว 7 ลำจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยานลำล่าสุดที่ไปถึงดาวพฤหัสบดีคือ ยานจูโน (Juno) ที่ถึงดาวพฤหัสบดีในปี ค.ศ.2016

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)




July 11, 2020 at 09:02PM
https://ift.tt/305qKnF

สดร. ชวนชม 'ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี' 14 ก.ค.นี้ - กรุงเทพธุรกิจ

https://ift.tt/2ARNT4m


Bagikan Berita Ini

0 Response to "สดร. ชวนชม 'ดาวพฤหัสบดีใกล้โลกที่สุดในรอบปี' 14 ก.ค.นี้ - กรุงเทพธุรกิจ"

Post a Comment

Powered by Blogger.